วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

ต้นเฟื่องฟ้า




ชื่ออสามัญ:            Paper Flower

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Bougainvillea glabra Choisy

วงศ์:               NYTAGINACEAE

ชื่อท้องถิ่นอื่น:  ดอกต่างใบ (กรุงเทพฯ), ดอกกระดาษ ดอกโคม (ภาคเหนือ), ตรุษจีน (ภาคกลาง), เย่จื่อฮวา จื่อซานฮวา (จีนกลาง)

ถิ่นกำเนิด:          ประเทศบราซิล

เวลาออกดอก:    ตลอดปี

ถิ่นอาศัย:           พืชบก

การเป็นมงคล: คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นเฟื่องฟ้าไว้ประจำบ้าน สามารถสร้างคุณค่าของชีวิตให้สูงขึ้น เพราะเฟื่องฟ้าเป้นพรรณไม้ที่ได้รับสมญาว่าเป็นราชินีแห่งไม้ประดับเนื่องจากสามารถนำเฟื่องฟ้าไปใช้ประโยชน์ในด้านสุนทรียภาพเพื่อประดับสวนอาคาร  บ้านเรือนและสถานที่สำคัญต่างๆนอกจากนี้คนไทยโบราณยังมีความเชื่ออีกว่าเฟื่องฟ้าเป็นไม้มงคลทำสำคัญของเทศกาลตรุษจีน เพราะต้นเฟื่องฟ้าสามารถออกดอกสะพรั่งในช่วงเทศกาลตรุษจีนจึงทำให้บางคนเรียกต้นเฟื่องว่าว่าต้นตรุษจีนดังนั้นบางคนเชื่อว่า เมื่อช่วงดอกเฟื่องฟ้าบานแสดงถึง ความเบิกบาน สว่างไสว ความรุ่งเรือง ที่ก้าวไกลแห่งชีวิต

ลักษณะทั่วไป
 เฟื่องฟ้าเป็นพันธ์ไม้ยืนต้นขนาดกลางประภทเถาเลื้อย ลำต้นมีความยาวประมาณ 1-10 เมตร มีลำเถาแข็งแรงเลื้อยไปได้ไกลผิวลำต้นสีเทาหรือสีน้ำตาล ลำต้นมีหนามยาวประมาณ 0.51เซนติเมตร ติดอยู่เป็นระยะๆ ลักษณะของทรงพุ่มสามารถตัดแต่ง และบังคับการเจริญเติบโตได้ เป็นใบเลี้ยงเดี่ยวแตกตามเถาลักษณะรูปไข่ปลายใบแหลมโคนใบมน ขอบใบเรียบ พื้นใบเรียวสีเขียวขนาดใบกวว้าง 2-4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อตามส่วนยอด มีกลีบดอกหรือใบประดับ 3 กลีบ ส่วนดอกจะมีดอกเล็กสีขาว

ประโยชน์
 เฟื่องฟ้าสามารถปลูกเป็นไม้ประดับในสวนสาธารณะ สวนข้างทางเดิน เป็นรั้วเป็นซุ้มนั่งเล่น เป็นไม้กระถาง ฯลฯ เฟื่องฟ้าสามารถตัดแต่งหรือดัดให้เป็นรูปร่างต่างๆได้ง่าย รวมทั้งมีความแข็งแรงทนทานจึงได้รับความนิยมนำไปปลูกเป็นไม้แคระ ( บอนไซ ) ทั้งในญี่ปุ่นและไต้หวัน

ลักษณะของต้นเฟื่องฟ้า  
   เป็นไม้ยืนต้นประเภทพุ่มกึ่งเลื้อยอายุยืนหลายสิบปี ขนาดตั้งแต่พุ่มเล็กถึงพุ่มใหญ่ มีหนามขึ้นตามลำต้นอยู่เหนือใบ ใบเป็นใบเดี่ยวแตกออกสลับกับกิ่งหรือเยื้องกัน มีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อย มีสีเขียวหรือใบด่าง รูปร่างรีแหลมยาว 3-6 ซม. กว้าง 2.5 ซม. ใบประดับลักษณะคล้ายรูปหัวใจหรือรูปไข่มี 3-5 ใบ มีหลายสี เช่น ม่วง แดง ชมพู ส้ม ฟ้า เหลืองและอื่นๆ ผู้พบเห็นทั่วไปมักเข้าใจว่าใบประดับคือดอก ดอกมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและไม่สมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือปลายกิ่ง แต่ละช่อมี 3 ดอก เป็นหลอดยาว 1-2 ซม. ติดอยู่ที่เส้นกลางใบของใบประดับ ส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าดอกคือเกสรดอก ดอกเป็นชนิดไม่มีกลีบดอก มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 5-10 อัน การปลูกเลี้ยงในประเทศไทยมักจะเกิดการกลายพันธุ์ โดยเนื้อเยื่อบริเวณตามีการเปลี่ยนแปลงในระดับเซลทำให้ส่วนต่างๆ เปลี่ยนไป เช่น สีของใบประดับเปลี่ยนไป กลายพันธุ์เป็นใบประดับซ้อน กลายพันธุ์เป็นใบด่าง กลายพันธุ์เป็นดอกกระจุก



ลำต้น  เฟื่องฟ้าเป็นไม้ประเภทรอเลื้อยมีหนามสำหรับการเกาะเกี่ยว  และป้องกันอันตรายให้แก่ ทรงพุ่ม ลำต้นกลม เปลือกบาง เนื้อไม้แข็งและเหนียว ลำต้นเหนือดิน ตั้งตรงเองได้



ใบ  เป็นลักษณะของใบเดี่ยว มีทั้งลักษณะเป็นรูปไข่ และกลมรี ยาวรี แผ่นใบกว้างประมาณ 2-3 ซม. ยาว 3-6 ซม. มีทั้งสีเขียวเข้มจนกระทั่งเขียวอ่อนและใบด่าง นอกจากนี้ยังมีใบประดับ  มีสีสันต่าง ๆ มากมายซึ่งคนทั่วไปมักจะเข้าใจว่าคือดอกของเฟื่องฟ้าจะรวมกันเป็นกลุ่ม ๆ ละ 3 ใบ



ดอก   ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจุกตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบประดับมีทั้งแบบชั้นเดียวและซ้อน รูปไข่ มี 3 กลีบขึ้นไปซ่อนกันเป็นรูปถ้วย ดอกบานเต็มที่กว้าง 2-3 เซนติเมตร

สรรพคุณทางยา 
  1. ดอก : มีสรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจและระบบขับถ่าย (บางข้อมูลระบุว่าดอกเฟื่องฟ้ามีสรรพคุณช่วยบำรุงโลหิต และใช้แทนเครื่องหอมได้ด้วย)
  2. ดอกเฟื่องฟ้า (สายพันธุ์ Bougainvillea glabra Choisy.) มีรสขมฝาด เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อตับ ใช้เป็นยาแก้ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดี รักษาสตรีที่ประจำเดือนไม่มา หรือมุตกิดตกขาวของสตรี ด้วยการใช้ดอกที่เป็นยาแห้ง ครั้งละ 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือจะใช้ร่วมกับตัวยาอื่น ๆ ในตำรับยาตามที่ต้องการ 
  3. ราก : เฟื่องฟ้าดอกขาว (Bougainvillea spectabilis Willd.) ในประเทศจีนจะไม่นิยมนำมาใช้ทำยา แต่ในประเทศไทยจะมีการนำรากมาใช้เป็นยาแก้พิษต่าง ๆ 

พันธ์เฟื่องฟ้าในประเทศไทย 
 ในวงการค้าขายเฟื่องฟ้าในปัจจุบันนี้มีการสั่งพันธุ์จากต่างประเทศเข้ามาใจประเทศไทยเพิ่มขึ้น  นอกจากนี้ก็ยังได้เฟื่องฟ้าพันธุ์ใหม่ ๆ ที่เกิดจากการผสมพันธุ์และกลายพันธุ์จากเฟื่องฟ้าที่มีอยู่ในเมืองไทย  แต่ในบางครั้งก็มีการตั้งชื่อซ้ำซ้อนสับสนกันบ้าง เพราะไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนหรือจดทะเบียนเป็นชื่อพันธุ์ไม่ให้ตั้งซ้ำซ้อนกัน  นับว่าเป็นจุดบกพร่องที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขแต่อย่างไร  ชื่อพันธุ์ที่ตั้งขึ้นมาจึงเป็นชื่อเพื่อการค้าและธุรกิจเสียมากกว่าที่จะให้เป็นชื่อที่มีระบบ และหลักเกณฑ์ในการตั้งชื่อ

วิดีโอ


แหล่งอ้างอิง
https://www.thaikasetsaert.com
https://frynn.com
https://th.wikipedia.org

https://www.youtube.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น